ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน read more →
การบังคับใช้ทางกฏหมาย จะบังเกิดเมื่อ มีการกระทำผิดกฏหมาย แต่หากไม่มีระบุในข้อกฏหมาย เราเรียกกันว่า มารยาท,จริยธรรม,จรรยาบรรณ และ กลายเป็นอีกคำ ที่ครอบคลุม เข้าใจกันโดยวงกว้าง คือ “ ธรรมาภิบาล” วงล้อมของสังคม ผ่านการตั้งคำถาม อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นห้วงสำนึกดี ของผู้บริหาร กรณีที่อาจเพลินกับการใช้อำนาจในการบริหารจัดการ ที่ลืมเลือน ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไปชั่วขณะ เพราะโลภะครอบงำ หลายเรื่องราว ที่เกิดขึ้น ขอนำมาเล่าสู่กันฟัง ด้วยการตรวจสอบเจอโดย ฝีอมือ “ผู้สอบบัญชี” ที่ทำหน้าที่อย่างเข้มข้น ในการตรวจสอบงบการเงิน มาตรฐาน KAM-Key Audit Metter ที่ใช้บังคับ จึงเป็นร่องรอยให้นักลงทุนได้รับข้อมูล ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้ บริษัท A : ทำธุรกิจเช่าซื้อ มีรายการของบริษัทย่อยในต่างประเทศ.. read more →
มีคำถาม ที่ถามกันไป-มา ด้วยน้ำเสียงและความรู้สึกที่ต่างกันไป สำหรับผู้คนที่เกี่ยวข้อง ในเรื่อง การดำรงตำแหน่งของกรรมการอิสระ ที่เกิน 9 ปี วันนี้มีความคืบหน้าของหน่วยงานกำกับดูแลตลาดเงินของประเทศ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเป็นนัยยะ ชี้นำที่น่าสนใจ ว่า ทิศทางของโลกธรรมาภิบาล กำลังกลายเป็นกระแสที่เข้มข้น จากภาคสมัครใจ กลายเป็นภาคปฏิบัติ คำถาม : ทำไมต้องมากำหนดว่า กรรมการอิสระ ไม่ควรนั่งเก้าอี้เกิน 9 ปี คำอธิบาย : เป็นผลจากงานวิจัย ที่กลายเป็นข้อตกลงระดับสากล ที่ยอมรับกันได้ วาระละ 3 ปี ต่อเนื่องกัน 3 วาระ คือ 9 ปี ผู้จัดการกองทุนทั่วโลก จึงยึดเกณฑ์นี้ ในการพิจารณาหุ้นที่นำเข้าพอร์ตการลงทุนของพวกเขา คำถาม : ฉัน (ผม) มีความเป็นอิสระ และมืออาชีพพอ แม้จะนั่งเกิน.. read more →
ดาวน์โหลดใบสมัคร read more →
สมจังหวะของ ฤดูกาลเลือกตั้ง และฤดูกาล ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น-AGM ช่างมีความเหมือน ความต่างในระนาบที่น่าสนใจยิ่งนัก การเลือกตั้ง หมายรวมวงกว้าง ในการเลือกตัวแทนของเราไปบริหารประเทศ ตามระบอบประชาธิปไตย ตามวงรอบคือ วาระ 4 ปี มีหนึ่งครั้ง (ยกเว้นมีกรณีเป็นอื่น) เลือก สส., เลือก สว.,สจ.,สท จากนั้น เราก็ได้แต่เฝ้าติดตามพวกเขา ทางสื่อต่างๆ ชะเง้อว่า พวกเขาเข้าสภาฯ ไปทำงานให้พวกเรา ในเรื่องใดบ้าง ห่างไกลเกินกว่า จะติดตาม ยกเว้นพวกที่มาลงพื้นที่ กราบไหว้ตอนหาเสียงนี่แหละ…จริงไหม การบริหารประเทศ เป็นภาพใหญ่ มองทะลุลงไป เทียบเคียงย่อส่วนลงมากับการบริหารงานของกิจการ คล้ายกันแบบจับวาง นายกรัฐมนตรี คือ CEO,รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ คือ.. read more →
หนึ่งในเส้นทางของการเดินเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ การแบ่งปันความเป็นเจ้าของ หมายถึง การกระจายหุ้น ให้ประชาชนได้เข้ามาซื้อขายได้อย่างเสรี การถือหุ้นในสัดส่วนที่เหมาะสม ต่อการบริหารงาน ป้องกันการถูก Take Over จนอาจส่งผลให้ความเป็นเจ้าของหลุดลอยไป แบบเหนือความคาดหมาย แผนงานและกลยุทธต่างๆ ถูกวางไว้เป็นระยะอยู่แล้ว ภายใต้การให้คำแนะนำแบบมืออาชีพของที่ปรึกษาทางกฏหมาย/ ทางการเงิน เมื่อหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหุ้น นักลงทุนอาจไม่คุ้นเคยกับการที่กลุ่ม/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือเจ้าของ ที่เราเรียกกันง่ายๆนั้น ประกาศจะเข้ามาซื้อหุ้นตัวเองกลับ ในเมื่อถือหุ้นเองอยู่แล้ว จะมาซื้อเพิ่มอีกทำไมกัน หรือ จะมาประกาศให้โลกทำไมกันเล่า….น่าคิด เรื่องการที่ซื้อหุ้นของบริษัท หมายถึง การนำเงินบริษัท มาซื้อหุ้นตัวเอง ที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้วนั้น ทางตลาดฯ มีเกณฑ์ กำหนดไว้น่าสนใจ กรณีที่บริษัทจดทะเบียนจะทำการ ซื้อหุ้น ไว้ดังนี้ .. read more →