สมจังหวะของ ฤดูกาลเลือกตั้ง และฤดูกาล ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น-AGM ช่างมีความเหมือน ความต่างในระนาบที่น่าสนใจยิ่งนัก การเลือกตั้ง หมายรวมวงกว้าง ในการเลือกตัวแทนของเราไปบริหารประเทศ ตามระบอบประชาธิปไตย ตามวงรอบคือ วาระ 4 ปี มีหนึ่งครั้ง (ยกเว้นมีกรณีเป็นอื่น) เลือก สส., เลือก สว.,สจ.,สท จากนั้น เราก็ได้แต่เฝ้าติดตามพวกเขา ทางสื่อต่างๆ ชะเง้อว่า พวกเขาเข้าสภาฯ ไปทำงานให้พวกเรา ในเรื่องใดบ้าง ห่างไกลเกินกว่า จะติดตาม ยกเว้นพวกที่มาลงพื้นที่ กราบไหว้ตอนหาเสียงนี่แหละ…จริงไหม การบริหารประเทศ เป็นภาพใหญ่ มองทะลุลงไป เทียบเคียงย่อส่วนลงมากับการบริหารงานของกิจการ คล้ายกันแบบจับวาง นายกรัฐมนตรี คือ CEO,รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ คือ.. read more →
หนึ่งในเส้นทางของการเดินเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ การแบ่งปันความเป็นเจ้าของ หมายถึง การกระจายหุ้น ให้ประชาชนได้เข้ามาซื้อขายได้อย่างเสรี การถือหุ้นในสัดส่วนที่เหมาะสม ต่อการบริหารงาน ป้องกันการถูก Take Over จนอาจส่งผลให้ความเป็นเจ้าของหลุดลอยไป แบบเหนือความคาดหมาย แผนงานและกลยุทธต่างๆ ถูกวางไว้เป็นระยะอยู่แล้ว ภายใต้การให้คำแนะนำแบบมืออาชีพของที่ปรึกษาทางกฏหมาย/ ทางการเงิน เมื่อหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหุ้น นักลงทุนอาจไม่คุ้นเคยกับการที่กลุ่ม/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือเจ้าของ ที่เราเรียกกันง่ายๆนั้น ประกาศจะเข้ามาซื้อหุ้นตัวเองกลับ ในเมื่อถือหุ้นเองอยู่แล้ว จะมาซื้อเพิ่มอีกทำไมกัน หรือ จะมาประกาศให้โลกทำไมกันเล่า….น่าคิด เรื่องการที่ซื้อหุ้นของบริษัท หมายถึง การนำเงินบริษัท มาซื้อหุ้นตัวเอง ที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้วนั้น ทางตลาดฯ มีเกณฑ์ กำหนดไว้น่าสนใจ กรณีที่บริษัทจดทะเบียนจะทำการ ซื้อหุ้น ไว้ดังนี้ .. read more →
แรงกระแทก จากอาการความอ่อนไหวของตลาดหุ้นทั่วโลก กระเทือนกันไปทั่วทุกภูมิภาค ยากจะหลบหลีกเลี่ยง การหยิบกฏเกณฑ์ใดๆขึ้นมาปัดฝุ่น ให้สมสมัย จึงเป็นเรื่องจำเป็น แม้จะเจ็บปวดก็ตาม เคยใช่ไหม ที่พบว่าการลงทุนกับหุ้นบางตัวของเรา อาจถูกแขวน ห้ามการซื่อขายเครื่องหมาย ทีแสดงสัญญลักษณ์ ห้ามทำการซื้อ-ขาย หุ้นตัวนั้นๆ เรารู้จักกันดี คือ SP-Suspension หงุดหงิดใจชะมัด แต่หากจะมาพลิกปูมดูเบื้องหลังว่า เหตุใด จึงเกิดอาการนี้ เราจะรู้ท่องแท้ ขึ้น และเมื่อเวลาเดินทางมาถึง จึงอาจต้องกลับมาทบทวนว่าจะ ดำเนินการอย่างไร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงลุกขึ้นมาทบทวน และถามไถ่กับคำถามที่น่าขบคิดว่า จะทำอย่างไรกันดี เพราะอย่าลืมว่า การเป็นบริษัทมหาชน ย่อมมีผู้ถือหุ้นอีกนับร้อย นับพันที่เข้ามาลงทุนกับบริษัทนั้นๆ จะด้วยเหตุใดๆของแต่ละก็ตาม ดังนั้นการจะปรับเกณฑ์ใดๆ จึงอาจต้องมาช่วยกันคิด มาฟัง มาถาม.. read more →
“คุณรพี สุจริตกุล” เลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. คนที่ 6 รับตำแหน่งนี้ เมื่อ 4 ปี ก่อน เวลาผ่านไปเพียงกระพริบตา 30 เมษา นี้ เขากำลังจะหมดวาระลง เป็นเรื่องปกติของชีวิตคนทำงานที่หมุนไปตามกาลเวลา และวาระหน้าที่+ ความรับผิดชอบ เป็นเชื้อสายของเจ้านายฝ่ายเหนือ ชื่อ “รพี” ประหนึ่งถูกลิขิตมาให้เรียนกฏหมาย ทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท ที่ประเทศอังกฤษ กลับมาทำงานธนาคารแห่งประเทศไทย และโยกมาเป็นคนทำงานรุ่นแรกๆ ของการจัดตั้ง ก.ล.ต. เมื่อปี 2535 จากนั้นลาออกไปร่วมงานกับภาคเอกชนพักใหญ่ ด้วยข่าวลือที่ว่า”อกหัก” จากตำแหน่งเบอร์หนึ่งขององค์กรแห่งนี้ และได้หวนกลับมารับงานในก้าวสู่ยุคดิจิตอลและหลายงานมาตกลงตรงหน้า ให้ร่วมอยู่ในบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ อาจเป็นความโชคดีขององค์กรที่ผู้นำมีประสบการณ์อีกซีกของความเข้าใจ ผู้ถูกกำกับดูแล เมื่อเข้ามาบริหาร.. read more →